ในดินจะประกอบไปด้วยอนุภาคที่มีขนาดแตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ดินมีองค์ประกอบที่มีความหลากหลาย การทดลองนี้จะเป็นการทดลองอย่างง่ายเพื่อจะแนกส่วนประกอบที่อยู่ในดินด้วยวิธีการอย่างง่าย
อุปกรณ์
- ขวดน้ำพลาสติกใส
- พลั่วตักดิน
- ไม้บรรทัด
การดำเนินกิจกรรม
- วางขวดใช้นิ่งแล้ววัดความหนาของชั้นตะกอนดังนี้
- ใส่น้ำจนเกือบเต็มขวด ปิดฝาขวดแล้วเขย่าขวดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 นาที เพื่อให้น้ำซึมเข้าสู่องค์ประกอบของดิน
- ให้ผู้ทำกิจกรรมใส่น้ำลงในกระบอกใส่ดินประมาณครึ่งขวด จากนั้นจึงปิดฝาขวดแล้วเขย่าให้ก้อนดินกระจายตัว แล้วทดลองอธิบายชั้นของดินและน้ำที่ปรากฏ
- ให้ผู้ทดลองไปขุดดินจากสนาม แล้วนำดินตัวอย่างจากพื้นที่ใส่ลงในกระบอกใส (ควรให้ผู้ทำกิจกรรมเลือกดินด้วยตนเอง เพื่อให้เข้าใจถึงสภาพของดิน) ให้มีความสูงประมาณ 1/3 ของขวด
- ปิดฝาขวดแล้วเขย่าให้ตัวอย่างดินในขวดผสมกัน แล้ววางขวดให้นิ่งบนพื้นราบ จากนั้นทำการวัดความสูงของชั้นตะกอนและบันทึกผลที่ได้ ดังนี้
- เมื่อเวลาผ่านไป 40 วินาที กำหนดความสูงเป็น A
- เมื่อเวลาผ่านไป 30 นาที กำหนดความสูงเป็น B
- เมื่อเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมง กำหนดความสูงเป็น C
- จากนั้น ให้ผู้ทดลองจำแนกองค์ประกอบของดินโดยการวิเคราะห์จากความหนาของชั้นตะกอนในแต่ละช่วงเวลา ดังนี้
- C-B คือ ชั้นของดินเหนียว
- B-A คือ ชั้นของตะกอนดิน
- A คือ ชั้นของกรวดและทราย
(สามารถใช้ตะแกรงขนาด 2 มม. เพื่อจำแนกกรวดและทรายออกจากกันได้)
- จากผลการทดลองที่ได้ สามารถคำนวณหาร้อยละ (%) ขององค์ประกอบของดินตัวอย่างได้
- ดลองซ้ำจากดินที่นำมาจากพื้นที่ที่แตกต่างกัน เช่น สนามหญ้า ริมถนน ใต้ต้นไม้ เพื่อศึกษาความแตกต่างขององค์ประกอบของดินที่แตกต่างกัน แล้วอภิปรายผล
การอภิปรายผล
- ให้ผู้ทดลองอภิปรายเกี่ยวกับร้อยละของแต่ละองค์ประกอบของดิน ว่าเหตใดบางพื้นที่จึงมีตะกอนดิน หรืออินทรีย์วัตถุมากกว่าบางพื้นที่
- ให้ผู้ทดลองอภิปรายถุงความเหมาะสมของดินต่อการนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น การปลูกพืช การก่อสร้าง เป็นต้น